Free JavaScript from 
Rainbow Arch

//////////////

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพ

1. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

          คติ : เดินทางปลอดภัยดี มีมิตรไมตรีที่ดี

          เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียนแดงคู่ ดอกไม้พวงมาลัย

     วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีองค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ โดยประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกและพระคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2408


วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

2. วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

          คติ : มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง
          เครื่องสักการะสำหรับพระประธานในโบสถ์ : ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 1 ดอก 
          เครื่องสักการะสำหรับรูปเคารพสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท : ธูป 5 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 1 ดอก

          ประวัติ/ความเป็นมา

          วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท สร้างสมัยก่อนกรุงรัตรโกสินทร์ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาวัดขึ้นมาใหม่ และรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายราชสามัญ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ทหารรามัญในกองทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุ รสิงหนาท ต่อมาเมื่อมีชัยชนะต่อกองทหารข้าศึกถึง 3 ครั้ง จึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม"
ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพ

3. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

     คติ : ร่มเย็นเป็นสุข
     เครื่องสักการะ : ธูป 9 ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว 11 แผ่น          

ประวัติ/ความเป็นมา

        วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือที่รู้จักกันในนาม "วัดโพธิ์" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อ "วัดโพธาราม" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงบูรณะและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างประเจดีย์เพื่อบรรจุพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยา ต่อมาใน พ.ศ. 2377 รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระเจดีย์ แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ" และทรงสร้าง "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกนิธาน" เพื่ออุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และทรงมีพระราชประสงค์ให้วัดโพธิ์เป็น "มหาวิทยาลัยสำหรับประชาชน" จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาความรู้มาจารึกบนแผ่นศิลาติดไว้บริเวณพระอุโบสถ เพื่อให้ประชาชนมาศึกษาหาความรู้

วัดโพธิ์

 4. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

          คติ : เพื่อจิตใจสะอาด ดุจรัตนตรัย
          เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกไม้

          ประวัติ/ความเป็นมา

          วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว เป็นพระอารามที่อยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2326 เพื่อความสะดวกเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตามราชประเพณี และเพื่อเป็นที่บรรจุพระอัฐิอายุของพระเจ้าแผ่นดินเจ้านายในราชสกุล ภายในวัดพระแก้วมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พระอุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" (พระแก้วมรกต) ที่พระระเบียงมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วิจิตรสวยงามและยาวที่สุดในโลก มีปราสาทพระเทพบิดร ซึ่งเป็นปราสาทยอดปรางค์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1- 8 

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

5. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
     
          คติ : ชื่อเสียงโด่งดัง คนนิยมชมชอบ
          เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว

      วัดระฆังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณ วิทยาคุณโด่งดังมากแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน การไปสักการะสมเด็จพุฒาจารย์ เพื่อขอพรโดยการสวดคาถาชินบัญชรเมื่อสวดจบแล้ว ปักธูปที่กระถางและปิดทองที่รูปปั้น แล้วอย่าลืมพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

วัดระฆังโฆสิตาราม

6. วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

          คติ : วิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์แก่คนทั่วไป
          เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม

          ประวัติ/ความเป็นมา

          วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อ "วัดมหาสุทธาวาส" วันนี้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2350 เสร็จสมบูรณ์ พ.ศ. 2390 ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุทัศนเทพวราราม"
ภายในวัดอรุณราชวรารามนี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิ มีพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสูง 33 วาเศษ ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ ยอดพระปรางค์เป็นนภศูล ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีปรางค์ทิศทั้ง 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ เทศน์พระธัมมจักร ตรัสรู้ นิพพาน การเดินเวียนทักษิณาวัดรอบพระปรางค์ 3 รอบ โดยเดินเวียนขวา (ตามเข็มนาฬิกา) เพื่อความเป็นสิริมงคล มีพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงปั้นหุ่นและพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง และยังมีพระวิหารที่มีพระบรมสารีริกธาติที่เกศพระพุทธชมภูนุชฯ มีพระอรุณหรือพระแจ้ง ที่รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

7. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

           คติ : ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน
          เครื่องสักการะ : ธูป 3 ดอก เทียนคู่
 ภายในวัดอรุณราชวรารามนี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิ มีพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสูง 33 วาเศษ ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ ยอดพระปรางค์เป็นนภศูล ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีปรางค์ทิศทั้ง 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ เทศน์พระธัมมจักร ตรัสรู้ นิพพาน การเดินเวียนทักษิณาวัดรอบพระปรางค์ 3 รอบ โดยเดินเวียนขวา (ตามเข็มนาฬิกา) เพื่อความเป็นสิริมงคล มีพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงปั้นหุ่นและพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง และยังมีพระวิหารที่มีพระบรมสารีริกธาติที่เกศพระพุทธชมภูนุชฯ มีพระอรุณหรือพระแจ้ง ที่รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์

วัดอรุณราชวรมหาวิหาร

8. วัดบวรนิเวศวิหาร
          
          คติ : พบแต่สิ่งดีงามในชีวิต
          เครื่องสักการะ : ธูป 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 3 ดอก

       สิ่งสำคัญภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นอาคารแบบตรีมุข หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบ ตรงกลางมีตรามหามงกุฎ พระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธชินสีห์ วิหารพระศาสดา พระเจดีย์ใหญ่ และพระตำหนักปั้นหยา สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเจ้าฟ้าที่ทรงผนวช
วัดบวรนิเวศวิหาร

9. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

          คติ : เสริมสร้างความคิดอันเป็นสิริมงคล
          เครื่องสักการะ : ธูป 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 3 ดอก

         สิ่งสำคัญภายในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้แก่ พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ซึ่งสร้างเป็นพระปรางค์ในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่เกิดทรุดพังลง รัชกาลที่ 4 โปรดให้ซ่อมแซม โดยแปลงเป็นภูเขาและก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ ภายในพระอุโบสถที่ภายในมีภาพเขียนจิตรกรรมฝีมือช่าง สมัยรัชกาลที่ 3 และหอไตร ศิลปะสมัยอยุธยา บานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำ

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

credit : http://travel.kapook.com/view8373.html
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น