Free JavaScript from 
Rainbow Arch

//////////////

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

"เป็นสุข" โดยไม่ต้องเพอร์เฟ็ค

 วิธีคิดเรื่องความสมบูรณ์แบบนี้ ส่วนใหญ่มีที่มาจากการพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก การเลี้ยงดูจากพ่อแม่ บรรยากาศในครอบครัว ค่านิยมที่ถูกปลูกฝังจากครู ผู้ใหญ่ ที่เน้นให้เป็นคนเก่ง คนดี ทำอะไรได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด  มีระเบียบวินัยอย่างดี จึงจะเป็นที่รัก ได้รับความชื่นชม เห็นว่ามีค่า

 การคาดหวังความสมบูรณ์แบบของคนเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน เกิดกับตัวเองหรือกับผู้อื่น แต่ที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่มักเป็นการคาดหวังความสมบูรณ์แบบจากคนอื่น ในบ้าน หรือในที่ทำงาน นอกจากนี้ยังมีคนที่ต้องการความสมบูรณ์แบบอีกชนิดหนึ่งโดยเรียกร้องจากตนเอง มากเกินควร วิธีคิดของคนกลุ่มนี้คือ คนดีต้องให้ความสำคัญต่อความต้องการของคนอื่นมาก่อนความต้องการของตนเองเสมอ
 การดำเนินชีวิตของแต่ละคนจะต้องประสบกับปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ ได้ ซึ่งปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยภาย นอกตัวเองคือ คนอื่นที่เป็นสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน เพราะคนแต่ละคนมีบุคลิก ลักษณะ อุปนิสัยใจคอแตกต่างกัน ความสามารถรับผิดชอบแตกต่างกัน 

 การเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยใจคอของคนแต่ละคนให้สำเร็จเป็นเรื่องที่ยากมาก ในความเป็นจริงชีวิตที่เพียบพร้อมไปด้วยความสมบูรณ์แบบมีแต่เพียงในเทพนิยาย เท่านั้น ดังนั้น เราทุกคนจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความจริง ความไม่สมบูรณ์แบบ อย่างมีความสุขให้ได้  สำหรับผู้ที่กำลังเครียดหรือมีความทุกข์จากปัญหาลักษณะนี้และ ต้องการชีวิตที่มีความสุขจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน วิธีคิดและวิธีปฏิบัติ โดยสามารถพิจารณาคำแนะนำต่อไปนี้ และนำไปปรับใช้ในชีวิตของ ตนเองตามที่เห็นสมควร
1. ในแต่ละวันควรต้องหาเวลาผ่อนคลายจากความเครียด พักสมอง พักจิตใจ พักอารมณ์ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อที่ความเครียดจะได้ไม่สะสม ด้วยกิจกรรมที่ตนเองชอบ การได้มีเวลาผ่อนคลายจะช่วยให้มองสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยอา รมณ์ขุ่นมัวน้อยลง มีสติมากขึ้น การตัดสินใจแก้ปัญหาก็จะดีขึ้น ผิดพลาดน้อยลง

2. พยายามฝึกมองสิ่งต่างๆในแง่บวกให้ได้ มองข้อดีของสิ่งที่ตนเองได้รับและชื่นชมข้อดีนั้น ไม่ใช่มุ่งมองแต่ข้อที่ขาดไปหรือข้อเสียเท่านั้น การสามารถมองด้านบวกได้จะทำ ให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้แก้ไขปัญหา

3. เตือนตัวเองว่าการไม่สมบูรณ์แบบไม่ใช่แปลว่าเราใช้ไม่ได้ เราไม่ได้อยู่ในโลกที่ สมบูรณ์แบบ ไม่มีใครในโลกที่สมบูรณ์แบบ ทุกคนมีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัด เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหา การตั้งเป้าหมาย หรือการตั้งความคาดหวังต่อสิ่งต่างๆ ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดและพื้นฐานความเป็นจริงของปัจจัยแวดล้อมด้วย

 4. เนื่องจากเรื่องที่ต้องรับผิดชอบของแต่ละคนมีหลายเรื่อง ไม่ได้หมายความว่าทุกเรื่องต้องได้ผลสมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้การจัดลำดับความสำคัญของภาระแต่ละเรื่อง ถ้าทำได้ดีจะช่วยลดความเครียดและแรงกดดันต่อตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้างได้ อย่างมาก

5. นอกจากการตั้งเป้าและการจัดลำดับความสำคัญแล้ว วิธีการสื่อสารกับคนในบ้านหรือในที่ทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องสามารถมองเห็นบ้านหรือในที่ทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องสามารถมองเห็นข้อดี ชื่นชมกัน ให้กำลังใจกัน ให้เกียรติกัน ไม่ใช่มองแต่ข้อเสีย และถึงแม้เห็นข้อเสียในตัวคนอื่นและต้องการให้เขาปรับ ปรุงก็ต้องมีวิธีการพูดที่เหมาะสม งานจะสำเร็จด้วยดีต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานหรือทีมงาน
6. เตือนตัวเองว่าทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้แม้แต่ตัวเราเอง ถ้าเราทำผิดพลาดก็ให้ยอมรับผิด อย่ากังวลเรื่องเสียหน้า อย่าปัดความรับผิดชอบ ผู้ร่วมงานจะให้โอกาส ให้การยอมรับ และให้ความร่วมมือ ทำให้งานเดินต่อไปได้ นอกจากนี้ยังอาจต้องฝึกการให้อภัยกับความผิดพลาดที่เกิดจากผู้อื่นหรือแม้ แต่ตัวเองด้วย เพื่อที่ว่าความโกรธ ความไม่พอใจ อารมณ์ขุ่นมัวทั้งหลายจะได้ไม่ตกค้าง สะสมอยู่ในใจ แล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา

credit: http://www.happynowtv.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น